Skip to content

เกี่ยวกับบริการ

ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange Center : GDX ) เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเอกสารทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและภาคเอกชนเมื่อใช้บริการจากภาครัฐ ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล และเมื่อภาครัฐสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลได้ ก็จะไม่จำเป็นต้องใช้สำเนาเอกสารในรูปแบบกระดาษต่อไป ดูรายละเอียดที่นี่ https://www.dga.or.th/th/profile/2109/

แนะนำบริการ GDX

กฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙

คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้

  1. เห็นชอบในหลักการให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ รวมทั้งปรับปรุงระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รองรับการดำเนินการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สำหรับงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณไปดำเนินการ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป โดยในระยะแรกของการดำเนินการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมภายใน ๓ เดือน
  2. ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดรูปแบบและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) การป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงและปลอดภัยในการใช้งานระบบสารสนเทศ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎรตามแนวทางดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจด้วย
  3. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการให้ความสำคัญในการวางแผนเพื่อรองรับการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและภัยคุกคามด้านไซเบอร์ การจดแจ้งรายได้และอาชีพของประชาชนดำเนินการภายใต้โครงการ e-Payment ของภาครัฐ การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการดำเนินการในส่วนที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง การจัดทำฐานข้อมูลประชาชนโดยใช้เลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก เป็นดัชนีจัดเก็บข้อมูลและการปรับปรุงบริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้รองรับการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) จำเป็นต้องมีโปรแกรมใช้ในการอ่านข้อมูลจากบัตร และจะต้องพัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้บัตรประชาชนฯ อย่างเพียงพอ รวมถึงควรมีหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเจ้าภาพร่วมดำเนินการในการกำหนดให้มีหน่วยงานกลางเชื่อมโยงฐานข้อมูลประชาชนของส่วนราชการและทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล การพิจารณาถึงแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานที่มีการจัดเก็บฐานข้อมูลประชาชนที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก เช่น แรงงานต่างด้าว และเด็กแรกเกิด และการมีหน่วยงานกลางเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ Service Platform ในการจัดทำระบบให้บริการตรวจสอบข้อมูล การจัดให้มีระบบในการเชื่องโยงฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐกับฐานด้านความมั่นคง รวมทั้งกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงานในแต่ละด้านให้ชัดเจนและรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย`

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐

คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ดังนี้

  1. ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเร่งดำเนินการแจ้งรายชื่อฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ซึ่งต้องใช้ในการบริการประชาชนไปยังกระทรวงมหาดไทยภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ แล้วให้กระทรวงมหาดไทยรวบรวมและพิจารณารายชื่อฐานข้อมูลดังกล่าวแจ้งให้หน่วยงานเจ้าของฐานข้อมูลทราบโดยเร็ว
  2. ให้หน่วยงานเจ้าของฐานข้อมูลจัดเตรียมฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายชื่อฐานข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย แล้วให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเชื่อมระบบฐานข้อมูลดังกล่าวกับระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรและเปิดให้หน่วยงานที่ร้องขอใช้งานได้โดยเร็ว สำหรับภาระงบประมาณ หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณโดยคำนึงถึงการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
  3. ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ในการขับเคลื่อนแนวทางบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม รวมทั้งติดตามและประเมินผลการเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเป็นระยะ ๆ ต่อไป
  4. ให้กระทรงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีการศึกษาข้อมูลสถานภาพและความพร้อมของฐานข้อมูลเพื่อวางแผนการให้บริการในอนาคต โดยให้กระทรวงมหาดไทยติดตามผลการเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการสนับสนุนเครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมีการปรับปรุงระบบบริการประชาชนที่รองรับกับการใช้เครื่องอ่านบัตรดังกล่าว รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐและพิจารณากรอบการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลและบริการกลางในแต่ละด้าน โดยเฉพาะการรักษาสมดุลระหว่างความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล กับการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย
  5. ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐของกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในส่วนที่ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการได้แล้ว ณ ปัจจุบัน ให้ประชาชนได้ทราบอย่างถูกต้องและทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการได้ตามความเหมาะสมต่อไป

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ สั่ง ณ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๐

http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-head-order21-2560.pdf

ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้มีอํานาจดังกล่าวประสงค์ได้สําเนาเอกสารนั้นจากผู้ขอรับอนุมัติ อนุญาต หรือใบอนุญาต หรือผู้ยื่นขอจดทะเบียนหรือจดแจ้ง หรือผู้แจ้ง ให้ผู้มีอํานาจนั้นเป็นผู้จัดทําสําเนาเอกสารดังกล่าวเอง เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ห้ามมิให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทําสําเนาดังกล่าวจากผู้ขอรับอนุมัติ อนุญาต หรือใบอนุญาตหรือผู้ยื่นขอจดทะเบียนหรือจดแจ้ง หรือผู้แจ้ง

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑

เห็นชอบมาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชน (การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการระยะสั้นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑

รายละเอียดตาม ไฟล์นี้ หรือดูจาก https://www.opdc.go.th/content/OTkw

ตัวอย่างการปรับแก้กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานราชการเพื่อรองรับการไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน

กรมการปกครอง

ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการทำบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/120/3.PDF

ข้อ 5 การเรียกตรวจเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาในการขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทําบัตรประจําตัว ประชาชน พ.ศ. 2554 ให้เจ้าหน้าที่และพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจจากข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของสํานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง โดยไม่ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังกล่าว จากผู้ขอมีบัตร เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถตรวจจากฐานข้อมูลได้และมีความจําเป็นต้องมีเอกสารดังกล่าว ประกอบการพิจารณา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารเพื่อให้ จัดส่งข้อมูลหรือสําเนาเอกสารดังกล่าวให้โดยเร็ว แต่ถ้าผู้ขอมีบัตรมีความประสงค์จะนําเอกสารหลักฐานนั้น มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง ก็ให้ดําเนินการได้ตามความสมัครใจ

ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร พ.ศ.2561

สาระสำคัญของระเบียบ ฯ รายละเอียดของระเบียบ ฯ

กรมสรรพากร

ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/241/T_0001.PDF

GDX มีกี่รูปแบบ

GDX มีการใช้งาน 2 รูปแบบ

  • แบบสำเร็จรูป โดยใช้งานผ่าน https://gdx.dga.or.th สามารถใช้แทนสำเนา เข้าใช้งานข้อมูลได้ทันที เหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน ไม่ต้องพัฒนาระบบเอง ไม่ต้องจัดซื้อซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ ง่ายในการใช้งาน
  • แบบ API นำ API ไปพัฒนาใช้งานได้ตามต้องการด้วย Government API https://api.egov.go.th เหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการความยืดหยุ่นในการนำข้อมูลไปใช้งานในรูปแบบที่ต้องการ โดยการนำ API ไปพัฒนาเพิ่มเติมเอง โดยมีคู่มือและระบบช่วยเหลือในการพัฒนารองรับเริ่มใช้งาน API ได้ที่ dev.egov.go.th

GDX แบบสำเร็จรูป มีข้อมูลอะไรบ้าง

ข้อมูลบุคคล

  1. ข้อมูลบุคคล จากบัตรสมาร์ทการ์ด (on Card) เรียกข้อมูลจากตัวบัตรประชาชน Smart Card ของประชาชน(ต้องมีบัตร) ใช้งานได้ทันที ไม่ต้องทำ MOU กับ สนง.ทะเบียนราษฏร์
  2. ข้อมูลบุคคล จากฐานข้อมูล IKNO เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูล IKNO ต้องมี MOU กับ สนง.ทะเบียนราษฏร์ ในการเรียกข้อมูลแบบ online ข้อมูลแสดงตามสิทธิ์ MOU ของแต่ละหน่วยงาน(ซึ่งแต่ละหน่วยงานอาจไม่เหมือนกัน)
    • ข้อมูลสมาชิกในบ้าน(ทะเบียนบ้าน)
    • ข้อมูลการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
    • ข้อมูลที่อยู่
    • ข้อมูลส่วนบุคคล(จากฐานข้อมูล)
  3. ข้อมูลบุคคล จากฐานข้อมูล Linkage Center เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูล Linkage Center ต้องมี MOU กับ สนง.ทะเบียนราษฏร์ ในการเรียกข้อมูลแบบ online ข้อมูลแสดงตามสิทธิ์ MOU ของแต่ละหน่วยงาน(ซึ่งแต่ละหน่วยงานอาจไม่เหมือนกัน)
ชื่อข้อมูลLinkage Service ID
1ข้อมูลส่วนบุคคล (จากฐานข้อมูล)[00023][001] ข้อมูล ทะเบียนราษฎร
2ข้อมูลที่อยู่บุคคล(จากฐานข้อมูล)[00023][027] ข้อมูล ที่อยู่บุคคลทุกประเภท
3ข้อมูลสมาชิกในบ้าน(ทะเบียนบ้าน)[00023][007] ข้อมูล ทะเบียนราษฎร (รายการคนในบ้าน)
[00023][008] ข้อมูล ทะเบียนบ้าน (รายละเอียดบ้าน)
4ข้อมูลการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล[00023][013] ข้อมูล การจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อตัว
[00023][017] ข้อมูล การจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล
  1. ข้อมูลบุคคล จากฐานข้อมูล Linkage Center แบบใช้สิทธิ์บัตรฯของเจ้าหน้าที่ร่วมกับบัตรฯของประชาชน เรียกข้อมูลจากฐาน ข้อมูลLinkage Center ไม่ต้องมี MOU กับ สนง.ทะเบียนราษฏร์ ในการเรียกข้อมูลแบบ onlineข้อมูลแสดงตามสิทธิ์ของประชาชน(เจ้าของข้อมูล) โดยต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าหน้าที่ และใช้บัตรประจำตัวของประชาชนคู่กัน

ข้อมูลนิติบุคคล

ประกอบด้วยข้อมูล

  1. ข้อมูลนิติบุคคล (ข้อมูลหนังสือรับรองนิติบุคคล)
  2. ข้อมูลผู้ถือหุ้น
  3. ข้อมูลงบการเงิน
  4. ข้อมูลหนังสือบริคณห์สนธิ ผู้ถือหุ้น งบการเงิน และเอกสารอื่นๆ

GDX แบบ API มีข้อมูลอะไรบ้าง

  1. ข้อมูลบุคคล จากฐานข้อมูล IKNO
  2. ข้อมูลบุคคล จากฐานข้อมูล Linkage Center ที่มีอยู่ในระบบ https://linkagemgmt.bora.dopa.go.th/#/
    • แบบเรียกดูข้อมูลด้วยสิทธิ์เจ้าหน้าที่
    • แบบเรียกดูข้อมูลด้วยสิทธิ์ประชาชน
  3. ข้อมูลนิติบุคคล จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)

ความปลอดภัยในการใช้ข้อมูลผ่าน GDX

  • การเชื่อมต่อหน้า website อยู่ภายใต้ระบบความปลอดภัย https
  • การเชื่อมต่อระบบ AMI มีการกำหนด Port ที่ชัดเจน และ ผู้ใช้จะเป็นผู้อนุญาตให้เฉพาะ Port ที่กำหนดสามารถเชื่อมต่อระบบของหน่วยงานได้ (Allow Port)