Skip to content

คำถามที่พบบ่อย (Frequently Asked Questions : FAQs)

คำถามทั่วไป

ระบบกลางทางกฎหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

ตอบ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) หรือ DGA ร่วมกันดำเนินการพัฒนา “ระบบกลาง” ตาม พ.ร.บ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยในระยะที่ 1 จะดำเนินการเพื่อ 1. เปิดให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นกับร่างกฎหมายหรือการประเมินผลสัมฤทธิ์ได้ด้วยช่องทางออนไลน์ 2. ประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้าของร่างกฎหมายได้ 3. หน่วยงานสามารถนำผลลัพธ์จากการแสดงความคิดเห็นไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายได้

ระบบกลางทางกฎหมาย เริ่มต้นโครงการเมื่อใด

ตอบ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก) และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สคก.) ได้เริ่มเก็บข้อมูลความต้องการจากประชาชนเพื่อพัฒนาโครงการระบบกลางทางกฎหมาย เมื่อ กุมภาพันธ์ 2563 โดยจัดในรูปแบบการจัดกิจกรรมสัมมนาในรูปแบบ Hackathon โดยเชิญตัวแทนจากผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาระดมความคิดเห็น ภายใต้ ชื่องาน “ Law ฟัง You” และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้พัฒนาก่อนการเริ่มพัฒนาจริง อีกทั้งยังมีเข้าสัมภาษณ์เก็บรวมรวบความต้องการและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่อง โดยได้เริ่มมีการทดลองให้ประชาชนทดสอบใช้ระบบกลางทางกฎหมาย Alpha version เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 และเปิดให้ทดสอบใช้ระบบในช่วง Beta Version เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 โดยมีการเปิดใช้งานระบบจริงเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564

ระบบกลางเปิดรับฟังความคิดเห็นของกฎหมายลำดับใดบ้าง

ตอบ หน่วยงานสามารถนำร่างกฎหมายมาเปิดรับฟังได้ดังนี้

ลำดับกฎหมายการรองรับของระบบกลาง
1พระราชบัญญัติ*รองรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นและกระบวนการส่งเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และการประกาศราชกิจจานุเบกษา
2กฎหมายลำดับศักดิ์อื่นๆ อันได้แก่ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่งรองรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นเท่านั้น
  • ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 กำหนดให้ระบบกลางรองรับการรับฟังความคิดเห็นและกระบวนการร่างกฎหมายในลำดับพระราชบัญญัติเท่านั้น

กฎหมาย และพ.ร.บ. ที่กำลังจัดทำร่างอื่นๆ หายไปไหน

ตอบ ระบบกลางทางกฎหมายเริ่มเปิดให้ใช้งาน วันที่ 30 ก.ค. 2564 ดังนั้น ข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์จึงเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นหลังจากการเปิดรับฟังบนระบบกลางเท่านั้น หากต้องการดูข้อมูลการรับฟังของร่างกฎหมายก่อนที่ระบบกลางจะใช้งาน กรุณาติดต่อหน่วยงานต้นเรื่องเพื่อสอบถามข้อมูลได้

ประชาชนได้อะไร? จากการมีระบบกลางทางกฎหมาย

ตอบ ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างกฎหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์กฎหมายของหน่วยงานรัฐ

‘ระบบกลาง’ เป็นระบบสำหรับเปิดรับฟัง และแสดงความคิดเห็นด้านกฎหมายที่

  • ความคิดเห็นจะถูกส่งตรงไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • สามารถติดตามสถานะการจัดทำร่างกฎหมายได้
  • ข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมาย มีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัย
  • สามารถนำข้อมูลกฎหมายไปใช้ประโยชน์ต่อได้
  • มีการจัดเก็บข้อมูลพร้อมนำไปวิเคราะห์ต่อยอดได้ในอนาคต

ประชาชนได้อะไร? จากการมีระบบกลางทางกฎหมาย

ตอบ ระบบกลางทางกฎหมาย จัดทำขึ้นโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลโดยมีวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย

หน่วยงานใดเป็นผู้นำเข้าข้อมูลและการรับฟังความคิดเห็น ในระบบกลางทางกฎหมาย

ตอบ หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของการร่างกฎหมายหรือการประเมินผลสัมฤทธิ์ จะเป็นผู้นำเข้าข้อมูลประกอบการรับฟัง และแบบสำรวจเพื่อขอรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผ่านระบบกลาง เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

การสมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้ในรูปแบบสมาชิก มีค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมใดหรือไม่

ตอบ ประชาชนที่ประสงค์จะใช้บริการในรูปแบบสมาชิกของระบบกลางทางกฎหมาย สามารถสมัครสมาชิกได้ที่หน้าเว็บไซต์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

คำถามเกี่ยวกับระบบกลางทางกฎหมายระยะที่ 2

ระบบกลางทางกฎหมาย ระยะที่ 1 กับ ระยะที่ 2 แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ ระบบกลางทางกฎหมาย ระยะที่ 1 สำหรับการสร้างการรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมาย ก่อนที่กฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับใช้ทั้งในระดับ พ.ร.บ. และลำดับรอง และสำหรับการรับฟังการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว โดยจะประเมินทุกๆ 5 ปี

ระบบกลางทางกฎหมาย ระยะที่ 2 สำหรับเผยแพร่ข้อมูลกฎหมาย เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางกฎหมายของประเทศ รวบรวมฐานข้อมูลกฎหมายไว้ที่ระบบกลางฯ โดยมีตั้งแต่ลำดับศักดิ์ พ.ร.บ. จนถึงลำดับรอง

หน่วยงานภาครัฐต้องนำเข้าข้อมูลกฎหมายลำดับศักดิ์ใดบ้าง

ตอบ สำหรับหน่วยงานภาครัฐ มีหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายที่หน่วยงานรับผิดชอบ

สำหรับ สคก. นำเข้ากฎหมายแม่บท ได้แก่ พ.ร.บ., พระราชกำหนด, พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง รวมถึงประมวลกฎหมาย

กฎหมายแม่บททาง สคก. จะช่วยนำข้อมูลเข้าระบบให้ ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐ จะต้องนำเข้ากฎหมายลำดับรอง ได้แก่ ประกาศ, คำสั่ง, ระเบียบ, หลักเกณฑ์

หน่วยงานจะต้องนำเข้าข้อมูลกฎหมายฉบับที่ยกเลิกแล้วด้วยหรือไม่

ตอบ หน่วยงานสามารถนำเข้าฉบับที่บังคับใช้และเป็นปัจจุบันเข้าก่อนได้ และฉบับที่ยกเลิกแล้ว และฉบับเก่าเป็นลำดับต่อไปได้

หน่วยงานภาครัฐมีช่องทางการนำข้อมูลกฎหมายได้กี่ช่องทาง (ขาเข้า)

ตอบ หน่วยงานสามารถนำเข้าได้ช่องทางเดียว คือ เจ้าหน้าที่กฎหมายกรอกข้อมูล (Key in) บนระบบกลางทางกฎหมาย www.law.go.th/backend

หน่วยงานภาครัฐมีช่องทางการส่งออกข้อมูลกฎหมายจากระบบกลางฯไประบบของหน่วยงานภาครัฐได้กี่ช่องทาง(ขาออก)

ตอบ สามารถใช้บริการ API Service ส่งออกข้อมูล ผ่านระบบ Open Data ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ สพร. โดยในกระบวนการนี้ หน่วยงานจะต้องมาใส่ข้อมูลที่ระบบกลาง และใช้ API Service เพื่อนำข้อมูลที่ระบบกลางไปแสดงในหน้าเว็บกฎหมายของหน่วยงาน

วิธีการใช้งานในส่วนของประชาชน (Front End)

การใช้งานระบบกลางทางกฎหมายจะต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกและยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานหรือไม่ มีความแตกต่างกันอย่างไรกับการใช้งานแบบลงทะเบียนสมัครสมาชิกและยืนยันตัวตน

ตอบ การใช้งานระบบกลางทางกฎหมายสามารถเข้าใช้งานได้ทั้ง 3 รูปแบบ 1) ไม่ระบุตัวตน (Anonymous) 2) ลงทะเบียนเป็นสมาชิก และ 3) ลงทะเบียนและยืนยันตัวตน

การลงทะเบียนสมัครสมาชิกและยืนยันตัวตนเข้าใช้งานระบบกลางทางกฎหมายทำอย่างไร

ตอบ สำหรับประชาชนที่ประสงค์จะใช้บริการในรูปแบบ ลงทะเบียนเป็นสมาชิก สามารถสมัครสมาชิกได้ที่หน้าเว็บไซต์ โดยเข้าไปที่ ปุ่ม ลงทะเบียน / เข้าสู่ระบบ

จากนั้นกดเลือก ลงทะเบียนผู้ใช้ใหม่

สำหรับประชาชนที่ลงทะเบียนสมัครสมาชิกแล้ว ต้องการยืนยันตัวตน เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือ เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว คลิกที่ชื่อบัญชีผู้ใช้ มุมขวา เลือก โปรไฟล์

จากนั้นไปที่เมนูชื่อว่า ความน่าเชื่อถือ กรอกข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก และข้อมูลที่กำหนด และยืนยันเลเซอร์โค้ด เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

หากต้องการลงทะเบียนและมีบัญชี Digital ID แล้ว สามารถลงทะเบียนได้หรือไม่

ตอบ สามารถทำได้โดยใส่ Username หรือ Email และใส่ Password ที่เคยลงทะเบียนไว้กับ Open ID (ปัจจุบันเป็น Digital ID) เพื่อเข้าใช้งานได้เลย

ลืม Password ทำอย่างไร

ตอบ ที่หน้าเข้าสู่ระบบ โดยกดจาก “ลืมรหัสผ่าน ?” หน้าจอจะ Link เข้าไปที่ Digital ID

กรณีลงทะเบียนไม่สำเร็จทำอย่างไร

ตอบ สามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี

  1. ไม่สามารถลงทะเบียนได้ สามารถดูได้จาก VDO การใช้งานระบบกลางทางกฎหมาย

  2. กรณี ลืม Account Digital ID

    • สร้างใหม่ : สามารถสมัครสมาชิกได้ที่หน้าเว็บไซต์ โดยเข้าไปที่ ปุ่ม ลงทะเบียน / เข้าสู่ระบบ ตามขั้นตอนข้อ 12 การลงทะเบียนสมัครสมาชิก
    • ติดต่อประสานกับศูนย์บริการลูกค้าของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | e-mail : contact@dga.or.th | โทรศัพท์ : 02 612 6060 | โทรสาร : 02 612 6011-12
  3. ลืม Password Digital ID: สามารถไปที่หน้าเข้าสู่ระบบ โดยกดจาก “ลืมรหัสผ่าน ?” หน้าจอจะ Link เข้าไปที่ Digital ID ตามขั้นตอนข้อ 14 ลืม Password

ทำ Survey ไม่เสร็จแล้วกลับมาข้อมูลจะหายหรือไม่

ตอบ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี

  1. มีการ Log-in: ในกรณีที่ผู้ใช้ยังทำ Survey ไม่เสร็จและต้องการบันทึกไว้ ระบบจะบันทึกให้อัตโนมัติ สามารถเข้าดูและทำ Survey นั้นๆ ต่อได้โดยการเข้า Surveyโดยตรงหรือไปที่ “โปรไฟล์” และ “ประวัติการตอบแบบสอบถาม”
  2. ไม่มีการ Log-in: ไม่สามารถบันทึกการทำ Survey ได้ จะต้องทำ Survey ให้เสร็จจะต้องกดส่ง Survey

สามารถดูประวัติย้อนหลังการทำแบบสอบถามได้หรือไม่

ตอบ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี

  1. มีการ Log-in: สามารถเข้าดูประวัติการตอบแบบสอบถามได้ โดยเลือกจากเมนู โปรไฟล์ จากนั้นกดเข้าดู “ประวัติการตอบแบบสอบถาม”
  2. ไม่มีการ Log-in: ไม่สามารถดูประวัติการตอบแบบสอบถามได้

ระบบกลางทางกฎหมายมีวิธีการใช้งานอย่างไร

ตอบ วิธีการใช้งานแบ่งได้เป็น 2 กรณี

  1. วิธีการใช้งานสำหรับประชาชน (Front-End): สามารถดูได้จาก VDO หรือคู่มือการใช้งานระบบกลางทางกฎหมาย ได้ที่หน้าเว็บไซต์
  2. วิธีการใช้งานสำหรับหน่วยงานภาครัฐ (Back-End): สามารถดูได้จาก VDO หรือคู่มือการใช้งานระบบกลางทางกฎหมาย ได้ที่หน้าเว็บไซต์ส่วนหลังบ้าน

Function การใช้งานส่วนของ Front-End สำหรับประชาชน มีอะไรบ้าง

ตอบ Feature หลักที่สำคัญของระบบ มีดังนี้

  • แสดงความคิดเห็นต่อแบบสอบถามในระบบกลาง
  • สมัครสมาชิก/เข้าสู่ระบบ เพื่อใช้งานใน Function อื่นได้มากขึ้น
  • กดติดตาม Favorite การรับฟังที่สนใจราย Survey/Project ได้
  • แจ้งเตือนความคืบหน้าสิ่งที่ตนเองสนใจ/ติดตาม
  • แสดงประวัติของการตอบแบบสอบถาม
  • แสดงความคิดเห็นที่กระดานสนทนาได้ (หากเปิดใช้)

ประชาชนที่ไม่ได้สมัครสมาชิกเข้าใช้งานกระดานสนทนาได้หรือไม่ และมีวิธีการใช้งานอย่างไร

ตอบ สำหรับประชาชนที่ไม่ได้สมัครสมาชิกหรือไม่ได้เข้าสู่ระบบ จะไม่สามารถร่วมสนทนาในกระดานสนทนาได้ แต่จะสามารถอ่านข้อความหรือดูกระดานสนทนาได้ หากประชาชนที่สนใจเข้าร่วมสนทนา สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

  1. กรณียังไม่มีบัญชีผู้ใช้: ให้ทำการสมัครสมาชิกใหม่ สามารถสมัครสมาชิกได้ที่หน้าเว็บไซต์ โดยเข้าไปที่ ปุ่ม ลงทะเบียน / เข้าสู่ระบบ ตามขั้นตอนข้อ 12 การลงทะเบียนสมัครสมาชิก
  2. กรณีมีบัญชีผู้ใช้แล้ว:
    • Login เข้าสู่ระบบ
    • เลือกโครงการหรือการรับฟังที่ต้องการเข้าร่วมสนทนา
    • แสดงความคิดเห็นที่ช่อง “สาธารณะ” ในกระดานสนทนา
    • สามารถเข้าดูประวัติการสนทนาได้
    • สามารถแก้ไข หรือลบความคิดเห็นสาธารณะได้
    • สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นสาธารณะกับความคิดเห็นท่านอื่นได้
    • สามารถรายงานความไม่เหมาะสมของข้อความในกระดานสนทนา เพื่อให้หน่วยงานตรวจสอบได้

ประชาชนที่ต้องการสนทนากับหน่วยงานทำได้หรือไม่ และมีวิธีการใช้งานอย่างไร

ตอบ สำหรับประชาชนที่ไม่ได้สมัครสมาชิกหรือไม่ได้เข้าสู่ระบบ จะไม่สามารถร่วมสนทนากับหน่วนงานในกระดานได้ แต่จะสามารถอ่านข้อความหรือดูกระดานสนทนาได้ หากประชาชนที่สนใจเข้าร่วมสนทนา สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

  1. กรณียังไม่มีบัญชีผู้ใช้: ให้ทำการสมัครสมาชิกใหม่ สามารถสมัครสมาชิกได้ที่หน้าเว็บไซต์ โดยเข้าไปที่ ปุ่ม ลงทะเบียน / เข้าสู่ระบบ ตามขั้นตอนข้อ 12 การลงทะเบียนสมัครสมาชิก
  2. กรณีมีบัญชีผู้ใช้แล้ว:
    • Login เข้าสู่ระบบ
    • เลือกโครงการหรือการรับฟังที่ต้องการเข้าร่วมสนทนา
    • แสดงความคิดเห็นที่ช่อง “สนทนากับหน่วยงาน” ในกระดานสนทนา
    • สามารถเข้าดูประวัติการสนทนาได้
    • ประชาชนท่านอื่นจะไม่เห็นข้อความของท่านเมื่อสนทนากับหน่วยงาน

วิธีการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ (Backend)

ทำไมต้องทำการเปิดรับฟังความคิดเห็นของกฎหมาย ในระบบกลางทางกฎหมาย

ตอบ เนื่องจากตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ และ พรบ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ที่มีความมุ่งหมายให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายได้มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น จึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบกลางทางกฎหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และเป็นแหล่งรวมในการทำร่างกฎหมายทั้งหมด

หน่วยงานต้องเริ่มนำร่างกฎหมายมาเปิดรับฟังความคิดเห็นเมื่อใด

ตอบ เมื่อหน่วยงานของรัฐมีการจัดทำร่างกฎหมาย หรือมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมาย

หน่วยงานสามารถสร้างการรับฟังความคิดเห็นในระบบกลางทางกฎหมายได้อย่างไร

ตอบ เมื่อ User ของหน่วยงานมี Account และได้รับสิทธิ์เข้าใช้งานหลังบ้านจากหน่วยงานของตนแล้ว สามารถสร้างโครงการที่ต้องการเปิดการรับฟังความคิดเห็นในระบบได้ โดยจะสามารถเลือกได้ว่า ต้องการสร้างการรับฟังประเภทใด ได้แก่ หลักการ ร่างกฎหมาย หรือการรับฟังการประเมินผลสัมฤทธิ์

เมื่อ User Login เข้าระบบหลังบ้านแล้ว ให้เลือกเมนูด้านซ้ายว่าต้องการจะสร้างการรับฟังเกี่ยวกับร่างกฎหมาย หรือประเมินผลสัมฤทธิ์ จากนั้นเลือกกด “สร้างโครงการใหม่” หรือ “สร้างแบบสำรวจเพิ่ม” กรณีต้องการสร้างการรับฟังใหม่ภายใต้โครงการเดิม

หน่วยงานสามารถเปิดรับฟังความคิดเห็นของกฎหมายในระบบกลางทางกฎหมาย พร้อมกับการเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยการจัดสัมมนาได้หรือไม่

ตอบ สามารถทำได้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว สามารถนำผลสรุปจากการจัดสัมมนามาใส่ในระบบกลางทางกฎหมายได้ โดยจะมีวิธีการขั้นตอนดังนี้

หน่วยงานเข้าสู่ระบบที่หลังบ้าน เลือกคำสั่ง “ผลลัพธ์” เพื่อเข้าสู่หน้าสำหรับใส่ข้อมูลการรับฟังผ่านช่องทางอื่นหรือการจัดสัมมนาจากช่องทางอื่น

หน่วยงานระบุชื่อกิจกรรม วันที่จัดกิจกรรม จำนวนผู้เชิญ จำนวนผู้เข้าร่วม จำนวนผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น และแนบไฟล์เอกสารรายงานหรือเอกสารแนบที่หน่วยงานได้จัดทำขึ้น ใส่ไว้ในระบบเพื่อบันทึกข้อมูลการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากการจัดสัมมนาจากช่องทางอื่นได้

กรณีที่หน่วยงานมีเว็บไซต์ที่เปิดรับฟังความคิดเห็นของตัวเอง สามารถเปิดรับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์ของหน่วยงานเองด้วยได้หรือไม่

ตอบ สามารถทำได้ แต่จะต้องนำผลการรับฟังมารายงานไว้ในระบบกลางด้วย

การลงทะเบียน User ของหน่วยงานภาครัฐทำอย่างไร

ตอบ หน่วยงานต้องทำการสมัครเพื่อสร้าง Account Open ID (ปัจจุบันเป็น Digital ID) ก่อน โดยหากยังไม่มีบัญชี Digital ID สามารถสมัครจาก Frontend ก่อนแล้วนำ User นั้นมาใช้ในการเข้าที่ Backend และจะต้องได้รับ Token Key สำหรับหน่วยงานและสิทธิ์ที่จะได้รับในการเข้าสู่ระบบจาก Superadmin ของหน่วยงานนั้น (เรียกว่า Unit Super Admin)

สิทธิในการใช้งานระบบมีกี่สิทธิ อะไรบ้าง

ตอบ สามารถแบ่งได้เป็น 3 สิทธิ ดังนี้

  1. Unit Super Admin: สามารถจัดการ User สร้าง Survey และตีพิมพ์ได้
  2. Survey Publisher: สามารถจัดการ User และตีพิมพ์ได้
  3. Survey Editor: สร้าง Survey ได้

Authorize Code ที่หน่วยงานได้รับ ถ้าใช้แล้วเข้าสู่ระบบครั้งแรกแล้ว สามารถส่งต่อให้ผู้อื่นได้หรือไม่

ตอบ ผู้ที่ได้รับ Authorize Code เมื่อใช้ Login เข้าสู่ระบบครั้งแรกแล้ว Authorize Code นั้นจะไม่สามารถใช้ต่อได้ เนื่องจากเป็นการใช้ต่อคนต่อครั้งเท่านั้น (Code แบบใช้ครั้งเดียว) หากต้องการส่งต่อให้ผู้อื่น ผู้ที่ต้องการเข้าใช้งานต้องติดต่อ Unite Super admin ของหน่วยงาน ให้ทำการ Copy Authorize Code ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน

Authorize Code ที่หน่วยงานได้รับ มีหมดอายุหรือจำกัดเวลาหรือไม่

ตอบ Authorize Code ไม่มีหมดอายุหรือไม่ได้จำกัดเวลาในการใช้งาน จนกว่าผู้ที่ได้รับ Authorize Code นำไปใช้ Login เข้าสู่ระบบครั้งแรก และ Authorize Code นั้นจะไม่สามารถถูกใช้ได้ต่ออีก

เมื่อเผยแพร่ในหน้าเว็บระบบกลางแล้ว แก้ไขวันที่เริ่มต้น - สิ้นสุด การทำ Survey ได้หรือไม่

ตอบ สามารถการแก้ไขวันที่ได้ 2 กรณี ดังนี้

  1. ยังไม่ถึงวันที่กำหนดเริ่มต้นการทำ Survey (ตั้งค่าล่วงหน้า): สามารถแก้ไขวันที่เริ่มต้น และวันที่สิ้นสุดได้ตลอด
  2. ถึงวันที่กำหนดเริ่มต้นการทำ Survey: ไม่สามารถแก้ไขวันที่เริ่มต้นได้แต่แก้ไขวันที่สิ้นสุดได้โดยจะต้องไม่เป็นการย้อนหลังวันที่สิ้นสุดเดิม

กรณีเผยแพร่แล้วตรวจสอบพบว่ามีข้อมูลบางอย่างผิดสามารถแก้ไขได้หรือไม่

ตอบ ข้อมูลอย่างง่าย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและข้อมูลหน่วยงาน สามารถแก้ไขได้

ข้อมูลสาระสำคัญและแบบสำรวจ ไม่สามารถแก้ไขได้หากต้องการแก้ไขจะต้องปิดการรับฟังครั้งนั้น แล้วสร้างใหม่ (เนื่องจากถือว่าประชาชนได้รับทราบแล้วจะเปลี่ยนสาระสำคัญหรือการเก็บข้อมูล Survey ใหม่ไม่ได้)

Function การใช้งานส่วนของ Back-End สำหรับหน่วยงานภาครัฐ มีอะไรบ้าง

ตอบ Feature หลักที่สำคัญของระบบ มีดังนี้

  • สร้างการรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบกลาง
  • ดูผลลัพธ์การตอบแบบสอบถามจากประชาชน
  • เผยแพร่สรุปผลการรับฟังผ่านระบบกลาง
  • ปรับปรุงความคืบหน้าของสถานะโครงการ
  • สร้างเอกสารรายงาน LAW สำหรับส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาร่างกฎหมาย
  • ใส่รายชื่อผู้จดแจ้งที่หน่วยงานมี เข้าสู่ฐานข้อมูลได้
  • สร้างหรือเปลี่ยนสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในหน่วยงานได้

วิธีการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ (Backend) สำหรับระบบกฎหมายกลางระยะที่ 2

หน่วยงานที่มีบัญชีและได้รับสิทธิ์การเข้าใช้งานจากระยะที่ 1 แล้ว สามารถเข้าใช้งานระยะที่ 2 ได้เลยหรือไม่ จำเป็นต้องสมัครใหม่หรือไม่

ตอบ สำหรับหน่วยงานที่มีบัญชีและได้รับสิทธิ์การเข้าใช้งานจากระยะที่ 1 แล้ว สามารถเข้าใช้งานระยะที่ 2 ได้ และผู้ที่เป็น Unit Super Admin สามารถบริหารจัดการเพิ่มผู้ใช้งานภายในหน่วยงานได้

Token สามารถรับได้ที่ช่องทางใด

ตอบ หากเป็น Unit Super Admin ทาง DGA จะแจ้งให้ แต่หากหน่วยงานสร้าง User เอง จะสามารถสร้าง Token ส่งผู้ใช้งานภายในหน่วยงานตนเองได้

Unite Super Admin ของหน่วยงาน สามารถสร้าง Token เพื่อเข้าระบบหลังบ้านในส่วนนำเข้าข้อมูลกฎหมายได้เลยใช่หรือไม่

ตอบ Unit Super Admin สามารถสร้าง User และกำหนดสิทธิคนนำเข้ากฎหมายได้เอง

Unit Super Adminในหน่วยงานมีมากกว่า1คนได้ใช่หรือไม่

ตอบ ใน 1 หน่วยงาน สามารถมี Unit Super Admin ได้มากกว่า 1 คนได้

ผู้ใช้งานภายในหน่วยงาน ใครบ้างที่มีสิทธิ์เห็นข้อมูลรายการกฎหมายได้ และเห็นได้ถึงระดับใด

ตอบ ผู้มีสิทธิ์เห็นข้อมูลรายการกฎหมาย ได้แก่ Unite-Super admin กับ Law Editor และ สามารถเห็นข้อมูลกฎหมายที่หน่วยงานตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบในกฎหมายฉบับ

การเพิ่มสารบาญกฎหมาย คืออะไร

ตอบ การสร้างสารบาญกฎหมายเปรียบเสมือนแฟ้มของกฎหมาย หรือหน้าปกของแฟ้ม เพื่อใช้ในการเพิ่มเนื้อหาของกฎหมายในแต่ละรายฉบับที่จะเกิดขึ้น

การระบุข้อมูล “หมวดอักษรกฎหมายแม่บท” คืออะไร

ตอบ สำหรับใช้ในการระบุ ตัวอักษรแรก ของชื่อกฎหมายแม่บท เพื่อรองรับในการค้นหาตามตัวอักษรได้

การเลือก “แสดงทุกเวอร์ชั่นกฎหมาย” คืออะไร

ตอบ สำหรับใช้เลือกการแสดงเนื้อหากฎหมายที่นำเข้าครบทุกเวอร์ชั่นแล้ว และต้องการแสดงที่หน้าบ้านทุกเวอร์ชั่น หากไม่ติ๊กเลือกแสดงระบบจะแสดงแค่ฉบับเดียวที่เป็นฉบับล่าสุดและเป็นฉบับที่บังคับใช้อยู่ปัจจุบัน

การเลือก “หมวดเรื่อง” สามารถเลือกได้มากกว่า 1 หรือไม่

ตอบ สามารถเลือกหมวดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายได้มากกว่า 1 โดยการพิมพ์ชื่อกลุ่มกฎหมายลงในช่อง

และกดเลือก หากไม่ต้องการให้กดลบออก

การเพิ่ม “บทอาศัยอำนาจ” สามารถเพิ่มได้มากกว่า 1 หรือไม่

ตอบ สามารถเลือกเพิ่มได้มากกว่า 1 รายการ หากกฎหมายฉบับนั้น มีการใช้บทอศัยอำนาจหลายฉบับ โดยจะต้องเลือกศักดิ์กฎหมาย ตามด้วยเลือกกฎหมาย และเลือกรายมาตราได้

การใส่ข้อมูลเนื้อหากฎหมายรายฉบับ กับเนื้อหากฎหมายฉบับอัพเดท แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ เนื้อหากฎหมายรายฉบับ คือ กฎหมายที่ออกมาสำหรับแก้ไขเพิ่มเติมในฉบับตั้งต้น ว่าจะต้องแก้ไขในรายมาตราใดบาง

เนื้อหากฎหมายฉบับอัพเดท คือ กฎหมายฉบับตั้งต้น หรือฉบับที่มีการอัพเดทแก้ไขเพิ่มเติมในเนื้อหา ตามที่กฎหมายฉบับแก้ไขเพิ่มเติมระบุไว้ เพื่ออัพเดทฉบับตั้งต้นให้เป็นกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับอัพเดท)

การเลือกใส่ข้อมูลเนื้อหากฎหมายรายฉบับ กับเนื้อหากฎหมายฉบับอัพเดท จะต้องทำอย่างไร

ตอบ การเลือกใส่ข้อมูลฉบับอัปเดท เมื่อกรอกรายละเอียดข้อมูลกฎหมายครบถ้วน และทำการกดปุ่มบันทึกฉบับร่าง ระบบจะปลดล๊อคให้ผู้ใช้งานสามารถกรอกรายละเอียดเนื้อหากฎหมายได้ ถ้าหากเป็น “กฎหมายฉบับตั้งต้น” ให้ผู้ใช้งานทำงานกรอกเนื้อหาในแถบเมนู “เนื้อหากฎหมายฉบับอัพเดท”จะต้องติ๊กเลือกเปิดช่อง 1.6 จะสามารถใส่เนื้อหากฎหมายที่ส่วนนี้ได้

การเลือกใส่ข้อมูลรายฉบับ ที่เป็นประกาศฉบับที่ 2,3,4,… หรือ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ให้กรอกที่ “เนื้อหากฎหมายรายฉบับ” ไม่ต้องติ๊กเลือก

ช่อง 1.6 จะสามารถใส่เนื้อหากฎหมายที่ส่วนนี้ได้และหากมีกฎหมายตัวอื่นที่ออกมาแก้ไขโดยที่ไม่ได้เกิดจากตัวกฎหมายเอง ให้เลือกระบุแก้ไขกฎหมายโดยกรณีอื่นแทนได้

การใส่ข้อมูลประกาศราชกิจจา ช่อง “อื่นๆ” ให้ระบุเป็นข้อมูลอะไร

ตอบ อื่นๆ ระบุเป็น การใส่ “ประเภทราชกิจจานุเบกษา” เช่น ฉบับประกาศและงานทั่วไป ประเภท ง พิเศษ ให้ระบุในช่องว่า “ง พิเศษ”

การใส่ข้อมูล “ผู้รักษาการ” ที่ให้ระบุเป็นใคร

ตอบ ผู้รักษาการ หมายถึง ผู้รับผิดชอบการปฏิบัติการตามกฎหมายนั้น ซึ่งอาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี

ความเป็นส่วนตัว (Privacy)

ระบบกลางทางกฎหมาย ใช้ระบบพิสูจน์ตัวตนอย่างไร มีความน่าเชื่อถือหรือไม่

ตอบ ระบบกลางทางกฎหมายใช้ Digital ID ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) มีความสอดคล้องกับข้อเสนอแนะมาตรฐานเกี่ยวกับแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย (Digital Identity Guideline for Thailand) (ขมธอ. 18 19 และ 20-2561) ที่ประกาศโดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)

ระบบมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ อย่างไร

ตอบ ระบบจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครขอใช้บริการไว้ ดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตน เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
  • ข้อมูลติดต่อ เช่น ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล
  • ข้อมูลความคิดเห็นอันเกี่ยวข้องกับร่างกฎหมาย หรือหลักการที่ถูกนำมารับฟังความคิดเห็น
  • ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการแสดงความคิดเห็น

ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่จัดเก็บตามความจำเป็นโดย สพร. นั้น สพร. จะทำการคุ้มครอง-ข้อมูลของท่านอย่างดีที่สุด และให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ท่านจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงการใช้งานและนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานระบบกลางทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ความปลอดภัย (Security)

ระบบกลางทางกฎหมาย ใช้ระบบพิสูจน์ตัวตนอย่างไร มีความน่าเชื่อถือหรือไม่

ตอบ ระบบกลางทางกฎหมายใช้ Digital ID ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) มีความสอดคล้องกับข้อเสนอแนะมาตรฐานเกี่ยวกับแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย (Digital Identity Guideline for Thailand) (ขมธอ. 18 19 และ 20-2561) ที่ประกาศโดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)

ระบบมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ อย่างไร

ตอบ ระบบจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครขอใช้บริการไว้ ดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตน เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
  • ข้อมูลติดต่อ เช่น ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล
  • ข้อมูลความคิดเห็นอันเกี่ยวข้องกับร่างกฎหมาย หรือหลักการที่ถูกนำมารับฟังความคิดเห็น
  • ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการแสดงความคิดเห็น

ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่จัดเก็บตามความจำเป็นโดย สพร. นั้น สพร. จะทำการคุ้มครองข้อมูลของท่านอย่างดีที่สุด และให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ท่านจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงการใช้งานและนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานระบบกลางทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด